จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในวงกว้าง จึงทำให้บุคคลรายได้น้อย – ปานกลาง เข้าถึงการปล่อยสินเชื่อ เพื่อซื้อ “บ้าน” หรือ “ที่อยู่อาศัย” ได้น้อยลง เนื่องจากเกรงว่า ในอนาคตถ้าเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น รายได้ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์มีแนวโน้มลดลงมากถึง 16.7% ถือเป็นระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลังในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารต่าง ๆ มีความระมัดระวัง ในการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้า ที่มีรายได้ปานกลาง ด้วยอัตราการปฏิเสธสินเชื่อ ที่เพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 50% ทำให้การเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองของคนไทยมีแนวโน้มลดลง เป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการ และประชาชน โดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการ เพื่อให้ประชาชนรายได้น้อย-ปานกลาง มีบ้านเป็นของตัวเองได้

ธนาคารลดอัตราการปล่อยกู้ “สินเชื่อบ้านและที่อยู่อาศัย” ในขณะที่ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ภาครัฐมีมาตรการสนับสนุน ลดค่าธรรมเนียมการโอน และการจดจำนองเหลือ 0.1% สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งช่วยเหลือได้เพียงกลุ่มผู้ซื้อที่มีจำนวนจำกัด และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง ทำให้ธนาคารปฏิเสธสินเชื่อ ส่งผลให้มาตรการดังกล่าวครอบคลุมไม่ทั่วถึง อยากให้ขยายมาตรการไปสู่การโอนของบุคคลธรรมดากับบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดากับธุรกิจ และธุรกิจกับภาคธุรกิจ เพื่อช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ให้กลับมาดีขึ้นกว่าเดิม และอยากให้ภาครัฐขยายการสนับสนุน โดยการลดค่าธรรมเนียมการโอนให้กับทุกกลุ่มอีกด้วย

แต่ในขณะเดียวกัน แนวโน้มการซื้อที่อยู่อาศัยลดลง ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องถึงราคาที่ดิน ที่ควรปรับลงไปด้วย แต่กลับกลายเป็นว่า ราคาที่ดินพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง โดยที่ดิน 5 อันดับแรก ที่ราคาสูงขึ้น อยู่แนวรถไฟฟ้าทั้งหมด ได้แก่

ธนาคารลดอัตราการปล่อยกู้ “สินเชื่อบ้านและที่อยู่อาศัย” ในขณะที่ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  1. โซนรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (คูคต-ลำลูกกา) ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 61.3%
  2. โซนรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 45.1%
  3. โซนรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 20%
  4. โซนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 15.3%
  5. โซนรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ (สมุทรปราการ-บางปู และแบริ่ง-สมุทรปราการ) ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 11.7%
ธนาคารลดอัตราการปล่อยกู้ “สินเชื่อบ้านและที่อยู่อาศัย” ในขณะที่ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้วยที่ดินที่มีราคาสูงขึ้น ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ไม่สามารถพัฒนาโครงการต่อได้ โดยการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ คาดว่าจะยังคงชะลอตัวด้วยเช่นกัน เพราะผู้ประกอบการต่าง ๆ ยังคงระมัดระวังในการลงทุน และเน้นการบริหารสภาพคล่อง โดยจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ ทั้ง “ลด แลก แจก แถม” ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถระบายสต็อกและตุนเงินสดเพื่อพยุงธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้