ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวบนเวทีสัมมนาในหัวข้อ “ประเทศไทยไปต่อ” โดยสรุปได้ดังนี้ จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งเสริมให้ชาวต่างชาติในหลายประเทศมุ่งความสนใจที่จะแสวงหา “บ้านหลังที่สอง” โดยประเทศดังกล่าว ต้องมีความพร้อมในด้านของสาธารณสุข รวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์ในด้านทรัพยากรธรรมชาติ และอาหารการกิน ซึ่งประเทศไทยถือได้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่มีความน่าสนใจในสายตาชาวต่างชาติ ดังนั้นการจะผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศตัวเลือกอันดับต้น ๆ รัฐบาลควรดำเนินการแก้กฎกติกาต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ชาวต่างชาติ รวมไปถึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน โดยกฎหมายที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา มีด้วยกันดังนี้

1.กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของห้องชุดและคอนโดฯ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของห้องชุดและคอนโดฯ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของห้องชุดและคอนโดฯ

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างดำเนินการเรื่องแก้กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติอาคารชุด (คอนโดฯ) ประมวลกฎหมายที่ดิน และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อขยายสิทธิ์ให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติมากขึ้น ตาม พ.ร.บ.อาคารชุดแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 แล้ว ต่างชาติสามารถที่จะเป็นเจ้าของห้องชุดหรือคอนโดมิเนียมในไทยได้สูงสุดเพียงร้อยละ 49 ของพื้นที่ขายของโครงการนั้น ๆ เท่านั้น แต่การแก้กฎหมายครั้งนี้จะขยายอัตราการถือครองกรรมสิทธิ์ โดยให้ชาวต่างชาติสามารถถือของกรรมสิทธิ์ได้มากขึ้น อาจจะถึงร้อยละ 70-80 เลยทีเดียว อย่างไรก็ตัวเลขเหล่านี้ยังไม่ได้เป็นข้อสรุปชัดเจน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการหารือในที่ประชุมอีกครั้ง

2.กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของบ้านเดี่ยว

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของบ้านเดี่ยว
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของบ้านเดี่ยว

แหล่งข่าวกล่าวว่า จะมีการหารือเพื่อที่จะแก้ไขข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของบ้านเดี่ยวของชาวต่างชาติ จากเดิมตามประมวลกฎหมายที่ดินกำหนดให้ต้องเป็นการลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท สำหรับที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยไม่เกิน 1 ไร่ พร้อมเงื่อนไขที่ยุ่งยาก เปลี่ยนแปลงเป็นต่างชาติสามารถที่จะถือกรรมสิทธิ์ครอบครองบ้านเดี่ยวในระดับราคา 10-15 ล้านบาทขึ้นไป โดยต้องเป็นโครงการจากบ้านจัดสรรเท่านั้นโดยสัดส่วนการถือของกรรมสิทธิ์คาดว่าไม่เกินร้อยละ 49 ของพื้นที่ขายในโครงการ 

นอกจากนี้จะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม 2542  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จากเดิมให้ต่างชาติสามารถทำสัญญาการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้สูงสุด 30 ปี จะมีการเพิ่มเป็น 40-50 ปีเลยทีเดียว เพื่อผลักดันต่างชาติที่ต้องการมาเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยในไทยในระยะยาว 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของบ้านเดี่ยว
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของบ้านเดี่ยว

อย่างไรก็ตาม การปรับกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดินของต่างชาติ จะเปิดเพียงแค่ 3-5 ปี หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้เพื่อเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นอีกภาคธุรกิจหนึ่งที่สร้างรายได้จำนวนไม่น้อยให้กับประเทศ รวมไปถึงจะเป็นการแก้ปัญหาภาวะโอเวอร์ซัพพลายของตลาดคอนโดมิเนียมที่ในขณะนี้เช่นกัน

สำหรับแนวทางการแก้ไขกฎหมายจะออกเป็น “พระราชกำหนด” ซึ่งทำให้กระบวนการในการแก้ไขกฎหมายเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้รัฐบาลไม่เพียงแก้ไขกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับการถือครองกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีในส่วนที่ปรับแก้ข้อกำหนดเพื่ออำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็น วีซ่าเกษียณอายุ และเวิร์กเพอร์มิต รวมไปถึงการบริการในส่วนอื่น ๆ ของภาครัฐเช่นกัน 

เตรียมการให้พร้อมก่อนเปิดประเทศในปี 2565
เตรียมการให้พร้อมก่อนเปิดประเทศในปี 2565

เห็นรูปธรรมกลางปีนี้
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า จากการประชุม ศบศ.ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้ทราบถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อดึงดูดในทักท่องเที่ยวและนักลงทุนชาวต่างชาติ พร้อมมีข้อเสนอใหม่ทีมปฏิบัติการเชิงรุก อันได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม S-curve อันได้แก่ การท่องเที่ยวและการดูแลสุขภาพ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และยานยนต์ไฟฟ้า  รวมไปถึงอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและดึงดูดนักลงทุนและชาวต่างชาติ 5 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ เกษียณอายุ ผู้รับเงินบำนาญ กลุ่มคนทำงานแบบ Digital NOMAD และสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาค โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้อยู่ในขั้นตอนการจัดทำรายละเอียดและนำมาเสนอต่อที่ประชุม โดยนาย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน ตั้งเป้าที่จะเห็นเป็นรูปธรรมกลางปีนี้ หรืออย่างช้าคือปลายปี 64 เพื่อเตรียมการให้พร้อมก่อนเปิดประเทศในปี 2565 นั่นเอง