หลาย ๆ คน ได้ยินข่าวกันแล้ว กับการระบาดระลอกใหม่ของ Covid-19 ในเมืองไทยของเรา จากเศรษฐกิจที่แย่ ๆ อยู่แล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะแย่ลงไปอีก ทำให้ทุกคนต่างต้องพากันปรับตัวเอาตัวรอดกัน ในยุคที่อะไรก็ไม่แน่นอน โดยภาพรวมในตลาดอสังหาฯ ในประเทศไทยในตอนนี้ โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังคงมีแนวโน้มไม่สดใสนัก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ความต้องการซื้อในบางพื้นที่ลดลง แม้จำนวนที่อยู่อาศัยพร้อมขายจะยังเหลืออยู่มากก็ตาม โดยเฉพาะคอนโดในเมืองยอดนิยมบนทำเลดี ๆ ใกล้กับรถไฟฟ้าต่าง ๆ ต้องชะงักกัน จึงก่อให้เกิดคำถามว่า ในปี 2564 ภาพรวมตลาดอสังหาฯ จะเป็นอย่างไร? ไปในทิศทางไหน? อะไรคือปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งหากทุกคนได้วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และดูสถานการณ์ในระยะนี้ คอนโดในเมืองกรุง ยังพอที่จะเป็นตัวเลือกกันอยู่รึเปล่า ในยุคที่ต้อง Work From Home งั้นไปดูกันที่ปัจจัยแรกกัน…

ปัจจัยทำราคาอสังหาฯ ปริมณฑลเพิ่มขึ้น เพราะ “รถไฟฟ้าหลากสี” 

ปัจจัยทำราคาอสังหาฯ ปริมณฑลเพิ่มขึ้น เพราะ “รถไฟฟ้าหลากสี” 
ปัจจัยทำราคาอสังหาฯ ปริมณฑลเพิ่มขึ้น เพราะ “รถไฟฟ้าหลากสี”

3 จังหวัดปริมณฑล ตามแนวรถไฟฟ้าหลากสีนี้ ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นคอนโดมิเนียม และทาวน์เฮาส์จะมีราคา 1-3 ล้านบาท ส่วนบ้านเดี่ยวมีราคา 5-10 ล้านบาท ซึ่งจากราคาคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮาส์ที่มีความใกล้เคียงกันในระดับราคาอยู่ที่ 1-3 ล้านบาท จะทำให้คอนโดมิเนียมขายได้ยาก เพราะมีราคาใกล้เคียงกับทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งในจังหวัดปริมณฑลนั้น มีการเติบโตอยู่เนื่อง ๆ เช่น จังหวัดนนทบุรี มีรถไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดนนทบุรีมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัจจัยที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยอื่น ๆ ตามมา ทั้งห้างสรรพสินค้า และแหล่งทำงาน โดยบริเวณตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 13% จากรถไฟฟ้าสายสีม่วง และบริเวณตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 16% จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดสมุทรปราการเพิ่มขึ้นก็ยังคงเป็นรถไฟฟ้าเช่นเดิม ทั้งสายสีเขียว และสายสีเหลือง โดยบริเวณอำเภอเมืองสมุทรปราการ (BTS สถานี แพรกษา สายลวด และเคหะฯ) มีราคาเพิ่มขึ้น 21% นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมาทำเลที่คอนโดมิเนียมมีราคาปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด อยู่ที่บริเวณจังหวัดสมุทรปราการตามแนวรถไฟฟ้าทั้งสิ้น ได้แก่ ตำบลปากน้ำ บริเวณ BTS ปากน้ำ เพิ่มขึ้น 11% ตำบลท้ายบ้านใหม่ เพิ่มขึ้น 8% และ ตำบลเทพารักษ์ บริเวณ BTS สำโรง ทิพวัล และศรีเทพา เพิ่มขึ้น 6% และอีกหนึ่งจังหวัดคือ ปทุมธานี เป็นจังหวัดที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย ทั้งการพัฒนาของภาคเอกชน เช่น ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และโครงการของรัฐบาล เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนบริเวณที่อสังหาริมทรัพย์มีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบปี คือ ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง เพิ่มขึ้น 18% และตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง เพิ่มขึ้น 16%

ปัจจัยราคาอสังหาฯ เพิ่ม พฤติกรรมเลือกซื้อของคนก็เปลี่ยน

ปัจจัยราคาอสังหาฯ เพิ่ม พฤติกรรมเลือกซื้อของคนก็เปลี่ยน
ปัจจัยราคาอสังหาฯ เพิ่ม พฤติกรรมเลือกซื้อของคนก็เปลี่ยน

สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมเลือกซื้อ ของคนเปลี่ยนไปได้เช่นกันค่ะ เพราะจากที่วิเคราะห์และรวบรวมการเก็บข้อมูลมานั้น ชี้ให้เห็นว่า 75% ชะลอการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ จากความกังวลด้านเศรษฐกิจ และรายได้ 32% มองว่าราคาที่อยู่อาศัยมีความไม่แน่นอน 31% เชื่อว่าการขอสินเชื่อบ้านยากขึ้น หรือต้องใช้เวลานานกว่าจะได้รับการอนุมัติ 24% ให้ความสนใจกับที่อยู่อาศัยที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความสะอาด และ 20% ให้ความเห็นว่าเข้าไปดูโครงการที่สนใจยากขึ้น นอกจากนี้ระยะเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยยังเพิ่มขึ้นด้วย จากเดิมที่ 33% ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในระยะเวลา 1 ปี ลดลงเหลือเพียง 20% เท่านั้น โดยคนส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี เพื่อตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย

ราคา ทำเล และสินเชื่อ ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการซื้อที่อยู่อีกต่อไป

ราคา ทำเล และสินเชื่อ ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการซื้อที่อยู่อีกต่อไป
ราคา ทำเล และสินเชื่อ ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการซื้อที่อยู่อีกต่อไป

เป็นที่รู้ ๆ กันนะคะ ว่าปัจจัยด้าน ราคา ทำเล และสินเชื่อ เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ผู้ซื้ออสังหาฯ คำนึงถึงเป็นลำดับต้น ๆ แต่ความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน กลับตรงกันข้าม โดย 82% ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม 65% ให้ความสำคัญกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ต้องเสถียร 64% ให้ความสำคัญกับฟังก์ชันในบ้าน และสิ่งอำนวยความสะดวก 50% ให้ความสำคัญกับระบบระบายอากาศ ความร้อน และระบบประหยัดพลังงาน และ 43% ให้ความสำคัญกับขนาดของที่อยู่อาศัย นอกจากนี้แล้วปัจจัย Work From Home นั้น ก็ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเช่นกันนะคะ โดยผลสำรวจพบว่า ผู้บริโภคกว่า 74% ซึ่งสอดคล้องกับความสนใจการซื้อที่อยู่อาศัยในแต่ละประเภทที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อคอนโดค่อนข้างไม่ตอบโจทย์กับยุค Covid-19 โดยบ้านเดี่ยวได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น 31% ทาวน์เฮาส์เพิ่มขึ้น 10% แต่คอนโดมิเนียมลดลง 2% 

เห็นกันแล้วใช่มั้ยคะว่า มีปัจจัยที่เปลี่ยนการตัดสินใจซื้ออสังหาฯ ในยุคการแพร่ระบาดโควิด-19 นี้ ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนความคิด และความชอบที่เปลี่ยนไปมีอัตราที่เพิ่มขึ้น หันกลับมาสนใจ อสังหาฯ ในปริมณฑล จึงทำให้คอนโดในเมืองกรุง ไม่ตอบโจทย์ความต้องการในยุค Work From Home อะไรแบบนี้ ทางเราเข้าใจในสถานการณ์ ณ ตอนนี้ดี จึงอยากเป็นกำลังใจให้กับทุกคน ให้สู้ไปพร้อมกัน ทุกอย่างมีทางแก้ ทุกอย่างจะดีขึ้น หากเราปรับตัวและคอยเช็กข่าว อัปเดต เศรษฐกิจ ในแวดวงอสังหาฯ กัน ก็สามารถคอยอัปเดต และติดตาม Blog ข่าวอสังหาริมทรัพย์ ใน FazWaz กันได้