นายวิชัย วิรัชตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่าศูนย์ข้อมูลฯ คาดการณ์แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยในปี 65 จะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นเนื่องจากภาพรวมของสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางบวกมากขึ้น ประกอบกับการจัดการของทางรัฐบาลที่กระจายวัคซีนไปทั่วถึงประชาชนในทุกภูมิภาค และการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเปิดประเทศ รวมไปถึงการผ่อนคลายมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงสิ้นปี 65 ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้นและยังสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ของไทยให้เริ่มทยอยกลับมาเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงการบ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม เพิ่มขึ้นอย่างมากมายภายหลังจากที่ผู้ประกอบการชะลอการเปิดโครงการไปนานร่วม 2 ปี

นายวิชัย วิรัชตกพันธ์
นายวิชัย วิรัชตกพันธ์

โดยคาดการณ์ว่าในปี 2565 การเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะเติบโตขึ้นจากปี 2564 สูงถึง 99% หรือมีการเปิดตัวมากกว่า 85,000 หน่วย ส่วนพื้นที่ที่มีการเปิดตัวโครงการอสังหาริมทรัพย์มากที่สุดก็จะยังคงกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล อย่างเช่น จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นทำเลที่มีความต้องการในการซื้ออสังหาริมทรัพย์มากที่สุด และคาดว่าจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ระดับ 100,000 หน่วย ในปี 2566 อีกด้วย

กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล
กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล

ส่วนยอดขายอสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 คาดว่าจะเติบโตขึ้นได้ประมาณ 15% หรือ 127,000 หน่วย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2564 และปี 2563 ที่มียอดขายทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 110,000 หน่วย ทั้งนี้ในตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวราบนั้นจะได้รับความสนใจและมีความต้องการซื้อมากที่สุดทั้งจากนักลงทุน และผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัย เช่น ตลาดคอนโดมิเนียมที่ยอดขายจะค่อย ๆ กลับมาฟื้นตัวขึ้น แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยในการดันยอดซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ได้มากเช่นเดียวกัน

ตลาดคอนโดมิเนียม
ตลาดคอนโดมิเนียม

ด้านการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 คาดว่าจะเห็นการกลับมาเติบโต 15% หรือ 324,221 หน่วย จากปี 2564 ที่หดตัวถึง -21.6% ดังนั้นเชื่อว่าการโอนกรรมสิทธิ์นั้นได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงล็อกดาวน์ในไตรมาส 3/64 ที่ผ่านมานั่นเอง และปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามกันต่อไปนั่นก็คือ การให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารต่าง ๆ ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีมากขึ้นหรือไม่อย่างไรในปี 2565 นี้ เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีการปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 50-70% ในกลุ่มที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่ำกว่า

การให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารต่าง ๆ
การให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารต่าง ๆ

2 ล้านบาท ในขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยในระดับราคา 2-5 ล้านบาท ก็พบอัตราการปฏิเสธสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 20-30% และผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ต่างก็มองว่าอัตราการปฏิเสธสินเชื่อที่สูงจากความเข้มงวดของธนาคารยังคงถือเป็นปัจจัยที่กดดันการโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้นทางศูนย์ REIC คาดว่าในปี 2565 ที่กำลังจะมาถึงนี้ทางธนาคารต่าง ๆ จะมีการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเป็น 6.69 แสนล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีอัตราการให้สินเชื่ออยู่ที่ 6.09 แสนล้านบาท และคาดว่าจะกลับมาที่ระดับปกติในระดับ 7 แสนล้านบาทในช่วงปี 2566 ซึ่งเป็นปีที่ศูนย์ข้อมูลฯ มองว่าเป็นปีที่ตลาดปรับเข้าสู่จุดสมดุลนั่นเองและในส่วนด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของปี 2565 ก็อาจจะเห็นโปรโมชั่นต่าง ๆ ลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการต่างก็ต้องการทำกำไรหรือลดต้นทุนการก่อสร้างนั่นเอง

การทำกำไรของผู้ประกอบการ
การทำกำไรของผู้ประกอบการ

ทาง Fazwaz เองก็คาดหวังว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยจะฟื้นตัวขึ้นเรื่อย ๆ นะคะ และเราขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนก้าวผ่านทุกปัญหาในชีวิตไปได้ด้วยดีค่ะ