“การเริ่มเปลี่ยนแปลงแค่น้อยนิด อาจจะทำให้มั่งคั่งขึ้น”

สังคมในยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่มักจะไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร หรือไม่ว่าจะเป็นเพราะการเปลี่ยนนั้นจะนำมาซึ่งความไม่แน่นอน หรืออะไรก็ตามแต่ ทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงนั้นก็จะส่งผลให้เกิดความไม่คุ้นเคยบ้างล่ะ ทำให้เกิดความเครียดบ้างล่ะ ทั้งที่หลายครั้งจากการเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำให้เรามีอะไร ๆ ที่ดีขึ้นก็ตาม บางครั้งก็อาจจะใช้คำว่า”ขี้เกียจ” ในทุก ๆ ครั้งที่จะต้องทำอะไรก็ตามที่แตกต่างไปจากเดิมก็ได้นะคะ

อย่างเช่นวันนี้ BaanThai ก็อยากจะหยิบยก “ความขี้เกียจ” ทางการเงินมาเป็นสาระดี ๆ ว่าบางครั้งเพียงเราเริ่มทำเรื่องบางเรื่องเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะทำให้เรามีเงินเก็บ หรือเพิ่มรายได้มากขึ้น แต่ถ้าจะต้องสูญเสียไปบ้างถ้าต้องแลกกับมันทำให้อะไร ๆ ดีขึ้น แล้วเราจะไม่คิดที่จะเริ่มเอาเจ้าตัว “ขี้เกียจ” ออกไปจากชีวิตเลยเหรอค่ะ ทุกอย่างในสมัยนี้ถ้าเราเริ่มทำหรือเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เร็วเท่าไร แล้วทำให้ชีวิตทางการการเงิน หรือทางด้านการเป็นอยู่ดีขึ้น จะรออะไรอยู่ล่ะ ใช่ไหมค่ะ

สำหรับวันนี้เกริ่นมาซะมากมาย เราจะมาพูดถึง พฤติกรรมของคน และพฤติกรรมทางการเงิน ซึ่งคิดว่าใครหลาย ๆ คนนั้นมักที่จะ “ยึดติดกับสภาพที่เป็นอยู่” คือไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง เพราะมาจากคำว่า “ขี้เกียจ” ที่จะเปลี่ยนแปลงนั่นไงค่ะ

ขี้เกียจแล้วจะเจอกับอะไร

1.คุณต้องจ่ายมากกว่าที่ควรจะต้องจ่าย  

ยกตัวอย่างเช่น ตอนเราซื้อบ้านใหม่ ๆ นั้น ก็จะมีโปรโมชั่นดอกเบี้ยพิเศษ ทำให้ผ่อนในราคาที่ถูกสักประมาณ 2-3 ปี แต่พอหลังจากนั้น ถ้าเราขี้เกียจที่จะติดต่อธนาคาร เพื่อขอรีไฟแนนซ์ หรืออะไรก็ตาม หลังจากนั้น ดอกเบี้ยบ้านก็จะปรับตัวขึ้นทันทีและจะทำให้คุณต้องผ่อนบ้านในแต่ละเดือนแพงขึ้น เนื่องจากดอกเบี้ยที่แพงขึ้นนั่นเอง เพราะเราขี้เกียจก็เลยต้องรับสภาพแบบนั้นไป โดยอาจจะไม่สามารถที่จะกลับมาเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขอะไรได้เลย

การสมัครสมาชิกใด ๆ แล้วให้มีการตัดบัตรเครดิตในราคาถูกช่วงแรก แล้วต้องยกเลิกทางโทรศัพท์หรือเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง ต่างเข้าข่ายการใช้ความเข้าใจเรื่อง นิสัยความขี้เกียจนี้ทั้งสิ้น

อันนี้ก็ถือว่าเป็นการใช้นิสัยความขี้เกียจโดยไม่ตั้งใจของพวกเราซึ่งมันก็ไม่ได้ถึงกับเสียหายอะไรมากมายกับเรื่องเล็ก ๆ น้อยแบบนี้ แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเรา ๆ ทั้งหลาย คิดว่าจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรอีกสักหน่อยก็จะทำให้มีเงินในกระเป๋าเหลือในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้นทันที

2.การวางแผนผิดพลาดเกิดความยุ่งยากในภายหลัง

เรื่องบางเรื่องที่เราตัดสินใจในวันเริ่มต้นจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเมื่อถึงเวลา เช่น ในวันที่อายุน้อย ทำงานมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีประกันชีวิต เราจำเป็นต้องระบุผู้รับประโยชน์ ซึ่งบางทีการระบุบุพการีในตอนแรกกับการที่ต้องเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์เมื่อเรามีครอบครัวใหม่ หรือมีการหย่าร้าง ก็จำเป็นอย่างมาก กับการวางแผนการส่งต่อทางการเงินในผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ หรือแม้แต่การยึดติดอยู่กับกองทุน ตัวใดตัวหนึ่งโดยไม่ได้สนใจที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องของสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงที่ควรเพิ่มหรือลดในบางปี หรือแม้แต่การมองหากองทุนที่ดีกว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไป เช่นนี้ก็ถือเป็นข้อเสียที่ความขี้เกียจทำให้เราได้น้อยหรือเสียมากกว่าที่ควรจะเป็น

 

ถ้าขี้เกียจแล้วทำให้รวยขึ้นได้
ถ้าขี้เกียจแล้วทำให้รวยขึ้นได้

3.ถ้าขี้เกียจแล้วทำให้รวยขึ้นได้

ข้อนี้อาจจะฟังดูขัดแยกกันหน่อยนะคะ แต่ถ้าเรามีแนวโน้มไม่ออมเงิน หรือใช้เงินเก่ง ถ้าใช้วิธีตัดเงินออมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราสูงสุดกับบริษัท ตัดเงินเข้าบัญชีกองทุนเป็นประจำทุกเดือนแบบอัตโนมัติใน ตัวเลขที่รับไหว หรือการลงทุนในกองทุนเพื่อประโยชน์ทางภาษีและแผนเกษียณ การกระทำเช่นนี้เพียงครั้งแรกครั้งเดียวหลังจากนั้นก็ปล่อยให้ความขี้เกียจทำงานของมันเอง คือตัวเราก็จะไม่พยายามไปเปลี่ยนแปลงอะไรก็เท่ากับบังคับให้ตัวเองมีเงินเก็บโดยไม่รู้ตัว นี่แหละค่ะคือคำตอบของข้อนี้สำหรับ “ถ้าขี้เกียจแล้วทำให้เรารวยขึ้น”

ต่อมาเรามาดูกันนะคะว่าจะมีปัจจัยอะไรบ้าง ที่จะช่วยแก้นิสัยขี้เกียจทางการเงินของเราได้ แต่เราจะต้องฝืนความรู้สึก และฝืนการกระทำกันสักนิดหนึ่งนะคะ เพื่อที่จะสร้างวินัยทางการเงินให้ได้ อย่างจริง ๆ จัง ก็จะมีวิธี ดังนี้นะคะ

3 วิธี แก้นิสัยขี้เกียจทางการเงิน

  1. เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงแค่ปีละครั้ง

ให้เราตั้งหมายกำหนดให้ตัวเองได้มีการทบทวนปีละครั้ง เช่น การทบทวนการลงทุนทั้งในมิติของสัดส่วนและรายละเอียดสิ่งที่ลงทุนทุกปี ผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน หรือการทบทวนต้นทุนค่าธรรมเนียม ค่าสมาชิกใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายแบบบอกรับล่วงหน้าหรือการทำสัญญาที่มีระยะเวลานาน เรื่องนี้ครอบคลุมไปถึงการ รีไฟแนนซ์ (refinance) บ้าน เพื่อให้ได้ต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำลงบนหนี้ระยะยาวด้วยอีกด้วย

  1. เริ่มจากการเปลี่ยนทีละเล็กละน้อย

เราไม่จำเป็นที่จะต้องทำอะไรที่ใหญ่โตในเวลาเดียวกันเพราะต้องเราจะต้องทำใจและอาศัยความกล้ามาก ดังนั้น ใครที่ไม่ชอบเก็บเงิน ก็ให้ลองหักเงินเก็บอัตโนมัติ ร้อยละ 5-10 ดูก่อน ใครมีค่าใช้จ่ายสูงก็ให้ลองขยับลดรายการที่เคยใช้ประจำแต่ไม่ถึงขั้นตัดทิ้ง เช่น คุณอาจจะลดแพ็คเก็จ wifi ที่บ้าน หรือลดแพ็คเก็จโทรศัพท์มือถือลงให้น้อยกว่าเดิมเล็กน้อย เปลี่ยนการตัดบัญชีเพื่อจ่ายค่าสมาชิกมาเป็นแบบจ่ายด้วยตัวเองทุกเดือน การทำแบบนี้ก็จะเป็นการช่วยดัดนิสัยได้แบบไม่รู้ตัว และยังช่วยฝึกวินัยทางการเงินได้อีกด้วย

เริ่มจากการเปลี่ยนที่ละเล็กทีละน้อย ฝึกการออม
เริ่มจากการเปลี่ยนที่ละเล็กทีละน้อย ฝึกการออม
  1. ถ้ารู้ว่าความขี้เกียจช่วยให้ชีวิตดีขึ้น อันนี้ก็หาทางให้ตัวเองเข้าสู่สภาวะไม่ต้องตัดสินใจบ่อยให้มาก ในเรื่องการออมเงิน การลงทุน การประหยัดภาษี หรือการตัดจ่ายหนี้ที่มากกว่าขั้นมาตรฐาน หรือขั้นต่ำ

ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการแก้นิสัยขี้เกียจทางการเงิน แต่เป็นเรื่องของการตระหนักให้รู้ว่าเรามีนิสัยขี้เกียจทางการเงินอยู่ในเรื่องใด และจะต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบ้างเท่านั้น เพราะการขยับเพียงเล็กน้อยแล้วทำให้เราเกิดความมั่งคั่งขึ้นหรือสูญเสียน้อยลงย่อมดีกว่าที่เราไม่คิดที่จะลงมือทำอะไรเลย ดังนั้น ขอให้ทุกคนหันกลับไปคิดทบทวนความขี้เกียจของตัวเองกันนะคะ

เก็บออมวันนี้เพื่อบ้านในฝันทีเป็นจริง
เก็บออมวันนี้เพื่อบ้านในฝันทีเป็นจริง

สิ่งเหล่านี้ถ้าเรารู้จักคิดทบทวน และวางแผนทางการเงินมากขึ้นนั้น ในอนาคตเมื่อถึงเวลาที่คุณจะต้องสร้างครอบครัว คุณก็จำเป็นที่จะต้อง ซื้อบ้าน หรือ คอนโด จากการกระทำของเราในอดีตก็จะส่งผลดีกับเรา ทำให้เรามีรายได้ มีเงินเก็บ ก็สามารถที่จะทำให้ความฝันของเรานั้นเป็นจริง