สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการทั้งหลายได้รับผลกระทบต่อพิษเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญอยู่อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการชะลอตัวของสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพคล่องทางการเงินของคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอนว่าในภาคอสังหาฯ ที่แม้จะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้บริโภค แต่ก็ถือเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง ก็หนีผลกระทบครั้งนี้ไม่พ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีภาระต้องผ่อนอสังหาฯ หรือ บ้านอยู่แล้ว คงมีความกังวลใจไม่น้อย ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ วันนี้ทาง Fazwaz.com ได้รวบรวมวิธีการแก้ไขปัญหาที่น่าสนใจสำหรับคนที่ผ่อนบ้านต่อไม่ไหว หรือกำลังหาทางออกกับปัญหาที่กำลังคิดไม่ตกอยู่ในขณะนี้ เพื่อช่วยให้คุณสามารถประเมินสถานการณ์ทางการเงินของตนเอง และเลือกทางออกที่เหมาะสมแล้วนำมาปรับใช้ให้ตรงกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ให้เกิดผลดีสูงสุดให้กับตนเอง ไปดูกันเลยค่ะ

1. การรีไฟแนนซ์ (Refinance)
รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไรเคล็ดลับผ่อนบ้านให้ดอกเบี้ยถูกลง ฟังทางนี้
การรีไฟแนนซ์บ้าน คือ การที่ผู้กู้สินเชื่อจากธนาคารเดิมตัดสินใจย้ายไปกู้สินเชื่อและผ่อนบ้านกับธนาคารใหม่เพื่อให้ผู้กู้ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง โดยที่ไม่จำเป็นต้องขอลดดอกเบี้ยบ้าน หรือเพิ่มระยะเวลาในการผ่อนชำระ และเมื่อดอกเบี้ยลดลงก็จะทำให้ค่าผ่อนชำระบ้านต่อเดือนนั้นน้อยลงไปด้วย ซึ่งทำให้ผู้กู้สามารถผ่อนสินเชื่อบ้านได้อย่างผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น สำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน อาจจะต้องสอบถาม และศึกษาหาข้อมูลจากเจ้าของธนาคารเดิมก่อนว่ามีเงื่อนไข หรือสัญญาใด ๆ ตลอดจน ตรวจสอบถามในเรื่องของดอกเบี้ยไฟแนนซ์บ้าน หรือการเพิ่มวงเงินให้ดีก่อนว่าสามารถทำได้หรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวผู้กู้นั่นเอง

อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์ เราควรคำนวณให้ดีก่อนว่าคุ้มหรือไม่ โดยเปรียบเทียบจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงนั้นมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการที่ต้องเริ่มกระบวนการพิจารณาสินเชื่อใหม่ทั้งหมด เช่น ค่าจดจำนองหลักประกัน, ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน, ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำประกัน และค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้เก่าในกรณีที่ยุติการกู้ก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งหากพบว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง หรือเสียเวลาในการดำเนินการมาก แต่ช่วยให้ประหยัดเงินได้น้อย การใช้บริการจากผู้ให้สินเชื่อเดิมอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่านั่นเอง

2. การรีเทนชัน (Retention)
รู้ไว้ไม่เสียหาย กับ 7 คำศัพท์ในวงการอสังหาฯ น่ารู้ - Ultimate Getawayหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรีเทนชันมากนัก สำหรับทางออกที่ 2 ที่เรานำมาเสนอนี้เป็นการรีเทนชัน ซึ่งก็คือการขอลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารเดิมนั่นเอง โดยมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก และส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจะทำให้ค่างวดที่ผ่านชำระลดลง โดยการรีเทนชันนี้อาจจะต้องใช้ทักษะในการเจรจากับธนาคารเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยที่ถูกลง

โดยจุดเด่นของการรีเทนชันคือ เป็นวิธีการที่สะดวกสบาย ซึ่งผู้กู้สามารถดำเนินธุรกรรมกับธนาคารเดิม ดังนั้นจึงไม่ต้องมีภาระในการจัดเตรียมเอกสารใหม่ เพราะทางธนาคารมีเอกสารและข้อมูลของผู้กู้อยู่ครบถ้วนแล้ว ทำให้ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติไม่นานก็ทราบผล ธนาคารบางแห่งใช้เวลาพิจารณาแค่ 7 วันทำการเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมมากนัก ธนาคารบางแห่งอาจคิดเพียงค่าธรรมเนียมสินเชื่อ 1% ของวงเงินกู้เท่านั้น เมื่อเทียบกับอัตราค่าดำเนินการเพื่อทำรีไฟแนนซ์ ถือว่ารีเทนชันมีค่าใช้จ่ายถูกกว่ามาก (ควรพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ยควบคู่ด้วยเนื่องจากการรีไฟแนนซ์มักได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า) แต่ถ้าเราประเมินแล้วว่าการรีเทนชันไม่ตอบโจทย์ ก็ลองมาดูทางเลือกต่อไปกันค่ะ

3. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ 4 แผน - nanasara.net

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะเกิดขึ้นในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญาเงินกู้เดิมได้ ลูกหนี้จึงประสงค์ที่จะขอผ่อนปรนการชำระหนี้กับสถาบันการเงินตามความสามารถ โดยสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะเป็นแนวทางที่ลูกหนี้สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตลอดสัญญา และลูกหนี้ไม่ควรผิดนัดชำระอีก ดังนั้นในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ควรชี้แจงสาเหตุหรือปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่สถาบันการเงินได้ตามความเป็นจริง เพื่อให้สถาบันการเงินนำข้อมูลที่เป็นประเด็นปัญหาไปประกอบการพิจารณาอนุมัติการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อไป

สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะต้องมีการทำสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม ซึ่งข้อตกลงของสัญญานั้นจะขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างลูกหนี้และสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ด้วย ซึ่งอาจเป็นการตกลงเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น เรื่องอัตราดอกเบี้ย หรือระยะเวลาการชำระหนี้นั่นเอง

เป็นยังไงกันบ้างคะทุกคน สำหรับทางออกที่ทางเรานำมาเสนอไปในวันนี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณจะได้แนวทางเพื่อนำพิจารณาเลือกใช้วิธีต่าง ๆ ที่คิดว่าน่าจะสามารถปรับใช้ได้จริง ที่สำคัญยิ่งเริ่มดำเนินการได้เร็วเท่าไรก็จะยิ่งเป็นผลดี เนื่องจากประวัติการผ่อนชำระจะยังไม่เสียหาย และทำให้การเจรจากับธนาคารก็จะง่ายขึ้น หากปล่อยไว้เนิ่นนานบานปลายจนธนาคารยื่นฟ้องร้องแล้ว ก็จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำเรื่องต่าง ๆ ทางกฎหมาย เช่น ขอชะลอการฟ้องร้อง, ขอชะลอการยึดทรัพย์, ขอถอนฟ้อง และขอยอมความ ขึ้นอยู่กับสถานภาพของคดี เป็นต้น