ควรรู้ ก่อนจะคิดต่อเติมห้องครัว

วันนี้มาเจอกับแอดมินกันอีกแล้วนะคะ เช่นเคยวันนี้เราก็จะนำสาระน่ารู้ดี ๆ มานำเสนอ เพื่อให้ทุก ๆ ท่านได้อ่านและไปเป็นความรู้ได้นะคะ มาดูกันนะคะว่าวันนี้ทาง ฟาสวาส Fazwaz.com จะมีข่าวสาระน่ารู้เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อะไร มาประดับความรู้เราบ้าง คิดว่าใครหลาย ๆ คนหลังจากซื้อ บ้านจัดสรรหรือทาวน์โฮม ก็มักที่จะเจอกับปัญหา พื้นที่ใช้งานไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อาทิเช่น ห้องครัว หรือโรงจอดรถ ก็มักที่จะทำการต่อเติมขึ้นในภายหลัง สิ่งเหล่านี้นะคะ ก่อนที่เราจะแก้ปัญหาพื้นที่จำกัดด้วยการต่อเติมนั้น ควรที่จะต้องคำนึงถึงกฎหมายอาคารสักนิดนะคะ เพื่อที่จะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดจนต้องเกิดการรื้อถอน หรือข้อพิพาทระหว่างเพื่อนบ้านหลังอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ติด ๆ กันนะคะ ทีนี้เรามาดูกันนะค่ะว่า เราจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ซึ่งแอดมินได้สรุปไว้เป็นข้อ ๆ ดังนี้ค่ะ

การต่อเติมห้องครัว

เราจะพูดถึงการต่อเติมห้องครัวกันนะคะ ปัจจุบันและยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้การออกแบบทาวน์โฮมและบ้านจัดสรรต่าง ๆ นั้นมักจะออกแบบให้พื้นที่ทำครัวมีขนาดที่เล็กลงซึ่งสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน ที่มักจะทานข้าวนอกบ้าน หรือหาซื้อกับข้าวมาจากข้างนอกเรียบร้อยแล้ว แต่ในเมื่อครอบครัวใหญ่ขึ้นซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่สำหรับประกอบอาหาร หรือปรุงอาหาร จึงก่อให้เกิดความต้องการ ที่จะใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น ก็จะนำมาสู่การคิดที่จะต่อเติมพื้นที่ห้องครัว และในวันนี้ แอดมันจะมาแนะนำการต่อเติมห้องครัวที่ถูกต้องตามกฎหมายอาคาร แน่นอนค่ะ ก่อนอื่นเราจะต้องมาทำความรู้จักกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันก่อนนะคะ

การต่อเติมห้องครัว
การต่อเติมห้องครัว
กฎหมายในการต่อเติมอาคาร

 

 

การต่อเติมหรือทำการดัดแปลงอาคารนั้น จำเป็นจะต้องได้รับการอนุญาตจากทางราชการ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของต้องไปขออนุญาตจากทางเขตเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล  (อบต.) ของพื้นที่นั้น ๆ เสียก่อน แต่ก็ยังมีการต่อเติมบ้านแบบที่ไม่ต้องขออนุญาตก็คือ

  • การดัดแปลงขนาดพื้นบ้าน การลดหรือการขยายเนื้อที่บ้านของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใด ให้มีเนื้อที่น้อยลง หรือมากขึ้น รวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคานนะคะ
  • การดัดแปลงหลังคาบ้าน การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคา ให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคานส่วนการต่อเติมที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 5 ตารางเมตรนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการขออนุญาตจากทางราชการ

นอกจากจะมีการพิจารณาเรื่องขนาดพื้นที่ที่ต่อเติมแล้ว กฎหมายอาคารยังกำหนดระยะห่างระหว่างอาคารหรือแนวเขตที่ดิน ดังนี้

  • ทาวน์เฮ้าส์จะต้องมีการเว้นพื้นที่ว่างทางด้านหลังกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร ด้านหน้า 3 เมตร และให้อาคารพาณิชย์เว้นพื้นที่ว่างทางด้านหลังกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร จากแนวเขตที่ดิน
  • ผนังด้านที่เปิดประตู หน้าต่าง ที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร จะต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร สำหรับที่สูงเกิน 9 เมตร และต้องห่าง 3 เมตร
  • ด้านผนังที่ไม่มีช่องเปิด (ผนังทึบ) จะต้องห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร ยกเว้นแต่ จะได้รรับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง เรามักจะเห็นว่าการต่อเติมห้องครัวหลังบ้านตามโครงการบ้านจัดสรรต่าง ๆ หรือทาวน์โฮม ในปัจจุบันนั้น ก็มักจะมีการก่อสร้างและต่อเติมห้องครัวที่ผิดกฎหมาย ซึ่งอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการละเลยที่จะปฏิบัติตามข้อกฎหมาย แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้เป็นเจ้าของบ้านเอง ผู้ใช้งานควรจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย
เพื่อนบ้านข้างเคียงที่อาศัยอยู่ติดกัน
เพื่อนบ้านข้างเคียงที่อาศัยอยู่ติดกัน

เพื่อนบ้านข้างเคียงที่อาศัยอยู่ติดกัน

ก่อนที่เราจะมีการต่อเติมบ้าน หรือห้องครัวนั้น อันดับแรกเลยเรามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเจรจาและพูดคุย ทำความเข้าใจกับเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน เพราะการต่อเติมห้องครัวหรือส่วนอื่น ๆ ของบ้านนั้น ย่อมที่จะมีผลกระทบต่อเพื่อนบ้านทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจในการใช้พื้นที่ร่วมกัน เพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ทั้งการยินยอมให้ต่อเติมตามข้อกฎหมาย หรือผลกระทบระหว่างการก่อสร้าง เช่น การตอกเสาเข็ม การก่อผนัง หรือการติดตั้งฮูทดูดควัน เป็นต้น ซึ่งหากเกิดปัญหา อาจจะนำมาสู่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

รูปแบบลักษณะของอาคาร

 

 

 

การต่อเติมห้องครัวนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้สถาปนิกและวิศวกรในการออกแบบและดูแลโครงสร้างเพื่อให้รูปแบบของการต่อเติมนั้นมีความสอดคล้อง กลมกลืนกับตัวอาคารเดิม ทั้งยังต้องออกแบบโครงสร้างให้มีความแข็งแรง ถูกต้องตามหลักกฎหมาย ความปลอดภัย มีการออกแบบที่จะต้องคำนึงถึงการป้องกันอัคคีภัย เพราะสาเหตุของไฟไหม้บ้านหรือทาวน์โฮม ส่วนหนึ่งก็จะมาจากห้องครัวของบ้าน นอกจากนี้ ยังจะต้องคำนึงถึงการทรุดตัวของโครงสร้างอาคารเดิม รอยร้าวต่าง ๆ ของผนัง และรอยรั่วซึมระหว่างรอยต่อ ระหว่างอาคารเดิมและส่วนที่ต่อเติม ผู้เป็นเจ้าของบ้านจำเป็นจะต้องคำนึงถึงในการต่อเติมห้องครัว

ต้องใช้สถาปนิกและวิศวกรในการออกแบบและดูแลโครงสร้าง
ต้องใช้สถาปนิกและวิศวกรในการออกแบบและดูแลโครงสร้าง

ปัญหาที่อาจจะตามมาทีหลัง จากการต่อเติมที่ผิดวิธี

  • ปัญหาการทรุดตัวของอาคารที่ไม่เท่ากัน
  • ทำให้โครงสร้างของอาคารเดิมและส่วนต่อเติมฉีกขาดออกจากกัน
  • ปัญหาการรั่วซึม

เป็นอย่างไรกันบ้างละคะ เชื่อว่าวันนี้ทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้ ก็จะต้องร้องอ๋อ กันเป็นแถว ๆ สำหรับความรู้ใหม่สำหรับใครหลาย ๆ คน เก็บไว้เป็นข้อคิดและความรู้ก่อนที่เราจะทำการต่อเติมห้องครัวบ้านของเรานะคะ แต่ถ้าใคร อยากจะต่อเติมบ้าน หรือห้องครัวและยังไม่มีไอเดียดี ๆ แนะนำว่าลองเข้าไปแอบส่องจากเวปไซต์ขาย บ้าน ก็ได้นะคะ เผื่อเราจะได้ไอเดียเก๋ที่ถูกใจมาปรับเปลี่ยนตามไลฟ์สไตล์ของเราเองนะคะ