อย่างที่ทราบกันดีว่าเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็ค่อย ๆ เสื่อมถอยลง ส่งผลให้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เป็นไปได้อย่างยากลำบาก ทั้งการเดิน การนั่ง หรือการนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการขับถ่ายและการอาบน้ำ เพราะการที่ผู้สูงอายุจะต้องเข้าห้องน้ำไปเพื่อขับถ่าย อาบน้ำ หรือทำความสะอาดร่างกายนั้น มักจะเกิดปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุบ่อย ๆ  หลายครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นปู่ ย่า ตา ยาย หรือกระทั่งพ่อแม่นั้น การออกแบบส่วนต่าง ๆ ของบ้าน คงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการใช้งานของผู้สูงอายุเป็นสำคัญ เนื่องด้วยร่างกายของท่านเหล่านั้นแตกต่างจากคนหนุ่มสาว ทั้งความแข็งแรงหรือความคล่องตัวก็ลดลง ห้องน้ำเป็นอีกจุดหนึ่งของบ้านที่ต้องพิถีพิถันเลือกวัสดุและองค์ประกอบที่ปลอดภัย ใช้งานง่าย และอำนวยความสะดวกสบายในการใช้งานเป็นอย่างดี วันนี้ทาง Fazwaz จึงนำเสนอเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับรูปแบบห้องน้ำผู้สูงอายุที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กับห้องน้ำที่บ้านมาฝากกันค่ะ

1. ขนาดของห้องน้ำ
ออกแบบห้องน้ำ แบบง่ายๆ เพื่อพ่อแม่วัยสูงอายุ
พื้นที่ภายในห้องน้ำผู้สูงอายุ ควรมีขนาดกว้าง x ยาว อย่างน้อย 1.65×2.75 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร เพื่อให้มีระยะในการหมุนตัวได้ 180 องศา สำหรับผู้ใช้ wheelchairs แบ่งสัดส่วนการใช้งานเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนอ่างล้างหน้า ส่วนชักโครก และส่วนอาบน้ำ

2. พื้นที่ห้องน้ำ
แบบห้องน้ำผู้สูงอายุ เพื่อความปลอดภัย - SCG Building Materialsโดยปกติห้องน้ำมักออกแบบแยกโซนเปียกและโซนแห้งไว้เพื่อการดูแลที่ง่าย อีกทั้งยังช่วยให้ปลอดภัยขึ้น แต่โซนเปียกแห้งที่ออกแบบกันนิยมทำพื้นโซนเปียกหรือโซนอาบน้ำ ต่ำกว่าโซนอื่น ๆ ตรงจุดนี้เป็นจุดอันตรายที่ไม่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรออกแบบพื้นห้องน้ำของผู้สูงอายุให้อยู่ระดับเดียวกัน หากเป็นห้องน้ำเดิมที่ทำพื้นไว้อยู่แล้ว ให้ทำการรื้อกระเบื้องพื้นและโถสุขภัณฑ์เดิมออก เทปูนทรายปรับระดับพื้นห้องน้ำและทำการปูกระเบื้องใหม่ โดยกระเบื้องที่นำมาใช้ควรมีค่าความฝืดผิวกระเบื้องหรืออาจเป็นพื้นไม้ที่ทนทานและกันลื่นได้ ซึ่งการใช้ไม้ปูพื้นทนทาน กันพื้นลื่น จะทำให้ลดอุบัติเหตุแล้วทำให้เพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

3. ขนาดของชักโครกที่เหมาะสมในห้องน้ำผู้สูงอายุ
ห้องน้ำแบบไหน เหมาะกับผู้สูงอายุ - hafelethailand

เรื่องของสัดส่วนหรือ Dimension เฟอร์นิเจอร์และสุขภัณฑ์ภายในบ้านล้วนแต่มีขนาดมาตรฐานที่กำหนดไว้ชัดเจน คือมีความกว้างประมาณ 35-40 เซนติเมตร และมีความสูงจากพื้นถึงที่รองนั่งประมาณ 37-45 เซนติเมตร สำหรับผู้สูงอายุควรเลือกที่มีความสูงประมาณ 45 เซนติเมตรเพื่อช่วยให้ลุกนั่งได้ง่ายไม่ต้องย่อตัวมากเกินไป ประกอบกับพิจารณาขนาดร่างกายของผู้ใช้เป็นหลักโดยจะต้องสัมพันธ์กับขนาดของโถชักโครกที่แบ่งไซส์เป็น S M L และ XL ทั้งนี้อย่าลืมคำนึงถึงขนาดของห้องน้ำร่วมด้วย อย่าให้รู้สึกอึดอัดหรือแออัดไปด้วยสุขภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่เกินไป

4. ประตูเปิด-ปิดง่ายในยามฉุกเฉิน
ประตูบานเลื่อน" ปลอดภัยด้วยระบบกลอนแบบ Safety Lock สำหรับห้องน้ำผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพ | Wazzadu

ประตูห้องน้ำผู้สูงอายุ ควรเลือกใช้เป็นแบบบานเลื่อน มีขนาดกว้าง 36 นิ้ว ให้ผู้ใช้ wheelchairs สามารถนำรถเข้าไปได้อย่างสะดวก ใช้ที่ล็อคแบบที่เปิดง่ายและเก็บกุญแจไว้ใกล้ ๆ ห้องน้ำเผื่อในยามฉุกเฉิน หรือผู้ใช้ต้องการความช่วยเหลือกะทันหัน หรือติดตั้งสวิตช์ฉุกเฉิน ไว้ใกล้ ๆ กับบริเวณ ชักโครกและอ่างอาบน้ำ โดยให้เอื้อมได้จากระยะ 25 ซม.และ 95 ซม. จากระดับพื้น

5. ราวจับ
Smart Elder ออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุอย่างไร ให้ตอบโจทย์ลงตัว
สิ่งจำเป็นอีกอย่างในห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุคือ ราวจับ (Handle) หรือราวช่วยพยุง หลังจากใช้งานโถชักโครก ช่วงจังหวะลุกขึ้นยืนผู้สูงอายุจำเป็นจะต้องมีตัวช่วยรับน้ำหนัก เพื่อให้ยืนได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นจึงควรติดราวจับไว้ข้าง ๆ โถชักโครกด้วย ควรอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และเป็นจุดที่เชื่อมต่อไปยังอ่างล้างมือซึ่งเป็นฟังก์ชันต่อเนื่องก่อนออกจากห้องน้ำ

6. ระบบเตือนภัยในห้องน้ำผู้สูงอายุ
โรงพยาบาลฉุกเฉินทางการแพทย์แจ้งเตือนสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุไร้สาย ห้องน้ำระบบเตือนภัย - Buy ฉุกเฉินโทร,ห้องน้ำนาฬิกาปลุก,Wireless Alarm System Product on Alibaba.com

ควรติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่หน้าต่างและประตู เพื่อป้องกันการโจรกรรม และเพิ่มความปลอดภัยของผู้สูงอายุขณะอยู่คนเดียว อีกทั้งยังสามารถเพิ่มระบบสัญญาณเตือนให้เชื่อมต่อเข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ หากผู้สูงอายุรู้สึกไม่ปลอดภัย สามารถกดปุ่ม alarm ที่ห้องน้ำ หรือข้อมือ เพื่อส่งสัญญาณให้สมาชิกในครอบครัวได้รับทราบในทันที

และที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ พื้นที่บริเวณกลางห้องน้ำควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร เพื่อให้รถวีลแชร์สามารถหมุนตัวได้ อ่างล้างหน้าใช้ก๊อกน้ำแบบคันโยก ข้างใต้ควรโปร่งโล่ง เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนั่งใช้งานขณะนั่งบนรถวีลแชร์ได้ โซนอาบน้ำควรมีเก้าอี้สำหรับนั่งอาบน้ำโดยเฉพาะ โถสุขภัณฑ์ควรจะมีความสูงที่ 40 เซนติเมตร ติดตั้งปุ่มกดสัญญาณขอความช่วยเหลือ และติดตั้งราวจับในระดับความสูงที่เหมาะสมทุกจุดเพื่อให้สามารถพยุงตัว หรือเกาะจับได้สะดวก เพียงเท่านี้ก็สามารถเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านได้แล้วค่ะ