นับได้ว่า “บ้าน” เป็นที่อยู่อาศัยที่เราได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิตในทุกจังหวะชีวิต และบ้านจึงต้องเต็มไปด้วยคุณภาพ และเหมาะสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง ทำให้ก่อนตัดสินใจสร้างบ้านเจ้าของบ้านควรเตรียมพร้อมในเรื่องต่าง ๆ ให้พร้อมเพื่อให้เห็นภาพรวมของบ้านทั้งหลังก่อนการดำเนินการ และก่อนสายเกินแก้ เพื่อลดความผิดพลาดตามแผนที่วางไว้ และจะสามารถช่วยให้ได้บ้านในแบบที่อยากได้ ตลอดจนการก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่น และเสร็จลุล่วงตามเวลาที่กำหนดไว้ และวันนี้ทาง Fazwaz จะนำเสนอควรรู้สำหรับการสร้างบ้านด้วยตัวเองที่เจ้าของบ้านมือใหม่ไม่ควรมองข้ามค่ะ

1. สำรวจที่ดินปลูกสร้าง
สิ่งสำคัญสำหรับการสร้างบ้านเอง คือ พื้นที่สำหรับปลูกสร้างบ้านนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ของการสร้างบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปลูกสร้างบ้านเองต้องคำนึงถึงความสะดวกสบายของพื้นที่นั้น ๆ ด้วยว่าจะสามารถเอื้อประโยชน์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รายล้อมหรือไม่ และพื้นที่ใดสามารถตอบโจทย์การอยู่อาศัยมากที่สุด เช่น การเดินทางจากบ้านไปที่ทำงาน ไปสถานที่สำคัญต่าง ๆ การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ และความปลอดภัยของย่านที่อยู่อาศัย รวมไปถึงเส้นทางเข้าออกบ้านซึ่งทางที่ดีควรมีมากกว่า 1 เส้นทาง เป็นต้น

ประชาสัมพันธ์ พรบ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 –  สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวัดตูม2. ทิศทางแดด ลม การวางตำแหน่งของบ้าน
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องดูทิศทางแดด-ลม ก่อนการวางตำแหน่งบ้าน ก็เพราะว่าเราคงไม่อยากนอนในห้องนอนที่แสนจะร้อนในตอนกลางคืน หรือต้องอุดอู้อึดอัดอยู่ในบ้านที่ไม่มีลมระบายเลย เรื่องพวกนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อน มีข้อสังเกตหลายอย่างในการวางตำแหน่งบ้านเพื่อให้บ้านทั้งหลังเป็นบ้านที่อยู่อย่างสบาย มีความสุข และประหยัดพลังงาน อีกทั้งการวางทิศทางแสงแดด ลม ตำแหน่งแปลนบ้านที่ดี จะช่วยให้การอยู่อาศัยนั้นสะดวกสบาย โดยทิศทางแสงแดดจะวิ่งเป็นแนวตะวันออกไปทางทิศใต้แล้วสิ้นสุดที่ทิศตะวันตก เหมาะสำหรับห้องที่สมาชิกในบ้านไม่ได้ใช้เวลาอยู่นานนัก หรือห้องที่ต้องการแสงแดดเพื่อลดความชื้น เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ และพื้นที่ซักล้าง ส่วนทางทิศเหนือเป็นมุมที่ไม่ถูกรบกวนจากแสงแดดมากสามารถวางตำแหน่งให้เป็นห้องนอน และห้องนั่งเล่นได้ ในเรื่องของทิศทางลม บ้านที่ดีควรหันด้านยาวของตัวบ้านเข้าหาลมเพื่อเพิ่มพื้นที่การรับลมธรรมชาติเข้าบ้าน ซึ่งจะช่วยระบายความร้อนภายใน และลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศ

อ่านเลย สรุปภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่ เริ่มจัดเก็บ 1 มกรา 2563 |  Thaiger ข่าวไทย3. ขนาดพื้นที่ใช้สอย
พื้นที่ใช้สอยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกแบบบ้าน ควรดูรูปแบบและความสัมพันธ์ของห้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก และห้องครัว ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ความต้องการของสมาชิกในบ้าน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพักอาศัยและการใช้งานได้มากที่สุด
การกำหนดพื้นที่ใช้สอย แบบแปลนบ้าน Space Allocating การออกแบบพื้นที่ใช้สอย  พื้นที่ใช้สอย4. จำนวนสมาชิกผู้พักอาศัย และความต้องการพื้นฐาน
จำนวนสมาชิกและความต้องการของผู้อยู่อาศัยมีผลต่อการออกแบบบ้าน เนื่องจากต้องจัดสรรพื้นที่ใช้สอย รูปแบบบ้าน จำนวนชั้น และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกและความต้องการนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยความต้องการนั้นควรมองทั้งความต้องการส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ความต้องการที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้พักอาศัยให้ลงตัว โดยรวมเรื่องสไตล์บ้านและแนวคิดเรื่องบ้านที่ต้องการ เช่น บ้านประหยัดพลังงาน บ้านเพื่อผู้สูงอายุ และบ้านสำหรับครอบครัวใหญ่ เป็นต้น

การตกแต่งภายในแบบ Minimalist เน้นเรื่องพื้นที่สำหรับครอบครัวและ  Functionailty - Madoroom

5.งบประมาณสำหรับการสร้างบ้าน
อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการเตรียมตัวสร้างบ้าน คือ งบประมาณ  เนื่องจากการตั้งงบประมาณไว้อย่างรอบคอบและรัดกุมจะช่วยให้ได้บ้านที่ตอบโจทย์มากที่สุดจริง ๆ สำหรับค่าถมที่ดินก็ควรอยู่ในงบประมาณด้วย แต่หลายคนก็นิยมที่จะซื้อที่ดินและถมที่ดินไว้ก่อนที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ดังนั้น จึงขอวางหัวข้อเรื่องงบประมาณไว้เป็นลำดับที่ 3 โดยการวางแผนงบประมาณในการสร้างบ้าน เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะนอกจากจะได้ทราบงบประมาณทั้งหมดที่คาดว่าจะต้องใช้แล้ว ยังเป็นแนวทางในการวางแผนทางการเงินได้ดีอีกด้วย

โดยสามารถคำนวณเงินสดที่เรามี กับเงินกู้ที่จะใช้ในการสร้างบ้านครั้งนี้ ดังนั้นจึงควรวางแผนให้รอบคอบว่า จะกู้สัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ และลงเงินสดเองกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหลักในการคิดของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนอยากลงเงินสดจำนวนมาก เพราะไม่ต้องการเสียดอกเบี้ยสูง ๆ แต่บางคนมองว่า ถ้ากู้ได้หมด ก็จะกู้ เพื่อนำเงินสดที่มีสำรองไว้ใช้อย่างอื่น
เปิดวิธีการยื่นขอสินเชื่อเงินด่วน บุคคลกู้ได้ ไม่ต้องค้ำ
6. ขออนุญาตก่อสร้าง
ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่ปลูกสร้างไว้เอง มีดังต่อไปนี้
6.1 ยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่สำนักงานเขตท้องถิ่นในพื้นที่นั้น ๆ เช่น สำนักงานเขต หรือสำนักงานเทศบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ

6.2 จากนั้นติดต่อสำนักงานเขตท้องถิ่นเพื่อตรวจสอบแบบแปลน โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทจะต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างบ้านก่อน และจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต

6.3 สำหรับกรณีที่ไม่ได้รับอนุญาตในการก่อสร้าง อาจจะมีการให้แก้ไขในบางรายละเอียด ก็ต้องดำเนินการแก้ไข และยื่นขออนุญาตใหม่อีกครั้ง

6.4 เมื่อได้ใบอนุญาตก่อสร้างมาแล้ว ควรทำสำเนาเก็บไว้ที่ตัวเอง ให้สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา หรือบริษัทรับสร้างบ้าน แล้วจึงดำเนินการก่อสร้างบ้านต่อไป

ขออนุญาตก่อสร้างบ้าน 4 ขั้นตอน และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง| DDproperty.com